วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

ฟ้อง และเบิกความเท็จ เจตนาให้ผู้อื่นได้รับโทษทางอาญา ถือเป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๙๖๓/๒๕๔๓ นายนิทัศน์ ละอองศรี โจทก์
นายสุรินทร์ แสงขำ จำเลย

อาญา ฟ้องเท็จ เบิกความเท็จ รอการลงโทษ (มาตรา ๑๗๕, ๑๗๗, ๕๖)
วิธีพิจารณาความอาญา ผู้เสียหาย (มาตรา ๒(๔))


          การที่โจทก์ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่จำเลยนั้นเป็นการออกเช็ค เพื่อค้ำประกันเงินกู้ของโจทก์ ที่ค้างชำระจำเลยจำนวน ๑๒๐,๐๐๐ บาท เมื่อจำเลยนำเช็คพิพาท ฉบับดังกล่าวไปฟ้องกล่าวหาว่า โจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลย เพื่อชำระหนี้เงินกู้โดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการ ใช้เงินตามเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ มาตรา ๔ จึงเป็นการฟ้องคดีอาญา ต่อศาลว่าโจทก์กระทำความผิด เป็นความผิดฐานฟ้องเท็จ จำเลยเบิกความในการพิจารณาคดีอาญา ของศาลชั้นต้นยืนยันตามฟ้องว่า เช็คพิพาทตามที่จำเลยฟ้อง เป็นเช็คที่โจทก์ออก เพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้จำเลย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ออกเช็คพิพาท ให้จำเลยยึดถือไว้ เพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ ที่โจทก์มีอยู่ต่อจำเลย คำเบิกความของจำเลย ย่อมเป็น ความเท็จและเป็นข้อสาระสำคัญในคดี เพราะถ้าศาลชั้นต้นฟังว่า เช็คพิพาทโจทก์ออกให้จำเลย เพื่อเป็นการชำระหนี้เงินกู้ ศาลชั้นต้นก็อาจพิพากษา ลงโทษจำคุกโจทก์ได้ ดังนั้น จำเลยย่อมมีความผิด ฐานเบิกความเท็จ
          การที่จำเลยฟ้องเท็จ และเบิกความเท็จในคดีอาญา ถึงแม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้อง แต่โจทก์ผู้ถูกฟ้อง ย่อมได้รับความเสียหาย จากการกระทำของจำเลย โจทก์เป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย
          การที่โจทก์ออกเช็คพิพาท และเขียนหนังสือประกอบการออกเช็คให้จำเลย มิใช่เพื่อให้จำเลยนำฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ โจทก์จึงมิได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลย
การที่จำเลยนำความเท็จ มาฟ้องโจทก์และเบิกความเท็จนั้น ก็โดยเจตนาให้โจทก์ต้องโทษทางอาญา หากศาลเชื่อว่าเป็นความจริงดังคำฟ้อง และคำเบิกความแล้ว โจทก์อาจถูกศาลพิพากษาลงโทษจำคุกได้ ถือว่าเป็นการกระทำ ที่เป็นภัยร้ายแรงต่อสังคม จึงไม่สมควร รอการลงโทษจำคุก

วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดหมายเลขแดงที่ อ.247/2553


คดีนี้ปรากฎข้อเท็จจริงว่าอธิบดีกรมวิชาการ(เดิม) ผู้ถูกฟ้องคดี(ปัจจุปันคือ เลขาธิการ 

กพฐ.) ได้มีคำสั่งที่ 36/2543 ลงวันที่ 3 ก.พ.43 ให้ผู้ฟ้องคดีกับพวกชดใช้ค่าเสียหาย 

เนื่องจากครั้นผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองคลัง กรมวิชาการ ได้เบิกจ่ายเงิน

ตามสัญญาจ้างทำแถบบันทึกภาพพร้อมเสียงให้แก่บริษัท ก ทั้งที่ทราบว่าบริษัท ก ได้โอน

สิทธิเรียกร้องในเงินตามสัญญาให้แก่ธนาคารแล้ว โดยกรมวิชาการ ผู้ถูกฟ้องคดี ได้ฟ้องคดี

ต่อศาลแพ่งและศาลได้พิพากษาให้บริษัท ก ชดใช้เงินคืนให้แก่กรมวิชาการฯ แต่บริษัท ก 

มิได้ชดใช้เงินให้ตามคำพิพากษา ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีกับพวกปฎิบัติหน้าที่ด้วยความประมาท

เลินเล่ออย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คำสั่งดัง

กล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการที่กรมวิชาการ ผู้ถูกฟ้องคดีแจ้งให้ผู้ฟ้องคดี

ว่า ให้นำเงินไปชดใช้ภายใน 7 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือ หากไม่ชำระผู้ถูกฟ้องคดีจะใช้

มาตรการบังคับทางปกครองโดยยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดี เป็นการกระทำที่ไม่

ชอบด้วยกฎหมายตามหนังสือลงวันที่ 29 พ.ย.47 เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีได้ฟ้องผู้ฟ้องคดีกับ

พวกให้ชดใช้เงินต่อศาลแพ่งและศาลแพ่งได้พิพากษายกฟ้องเพราะขาดอายุความฟ้องคดี 

โดยคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ย่อมเห็นได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีประสงค์จะ

นำกรณีพิพาทนี้ให้ศาลยุติธรรมพิจารณาแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่สามารถใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครองได้อีก ทั้งหนังสือแจ้งเตือน ลงวันที่ 29 พ.ย.47 นั้น ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง แต่

ผู้ถูกฟ้องคดี มิได้แจ้งสิทธิอุทธรณ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์หนังสือดังกล่าว

ต่อผู้ถูกฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดี ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิก

ถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 36/2543 และเพิกถอนการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดี 

รวมทั้งเพิกถอนการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง กับให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับทาง

ปกครองไว้ชั่วคราว

         ดคีนี้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ 36/2543

เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี ส่วนคำขอทุเลาการ

บังคับตามคำสั่งทางปกครอง ก็ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า หากผู้ถูกฟ้องคดีใช้มาตรการบังคับ

ทางปกครองแล้วจะทำให้ผู้ฟ้องคดีเกิดความเสียหายอย่างไร คำขอทุเลาฯ จึงยังไม่มีข้อ

เท็จจริงเพียงพอที่รับรับไว้พิจาณาได้ ศาลปกครองชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องในข้อหาที่ขอ

ให้เพิกถอนคำสั่งที่ 36/2543 ไว้พิจารณา และมีคำสั่งไม่รับคำขอทุเลาการบังคับทาง

ปกครองฯ  แต่ให้รับฟ้องในข้อหาให้เพิกถอนการพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีตาม

หนังสือ ลงวันที่ 29 พ.ย.47 และขอให้เพิกถอนการใช้มาตรการการบังคับทางปกครองไว้

พิจารณา

        และมีคำพิพากษาว่า กรมวิชาการ ผู้ถูกฟ้องคดี  สามารถใช้มาตรการบังคับทาง

ปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ฟ้องคดีได้  แม้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีจะนำกรณีพิพาท

ไปฟ้องศาลยุติธรรมก็ตาม ส่วนหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระเงิน ลงวันที่ 29 พ.ย.47 ของกรม

วิชาการ ผู้ถูกฟ้องคดีนั้น มิใช่คำสั่งทางปกครองที่จะต้องแจ้งสิทธิ์อุทธรณ์ จึงเป็นการกระทำ

ที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

        ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นที่ไม่รับคำฟ้องขอให้

เพิกถอนคำสั่งกรมวิชาการที่ 36/2543 ไว้พิจารณา เนื่องจากยื่นฟ้องพ้นกำหนดเวลาเก้าสิบ

วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ของผู้ฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีมิได้คัดค้านคำสั่งดังกล่าว คำฟ้องข้อหา

นี้จึงถึงที่สุด ส่วนหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระเงิน ตามหนังสือลงวันที่ 29 พ.ย.47 ว่าตามที่ได้มี

คำสั่งที่ 36/2543 แจ้งให้ชำระเงินนั้น ท่านไม่ได้ชำระ จึงขอเตือนให้ชำระอีกครั้ง หากไม่

ชำระจะใช้มาตรการทางปกครองฯ นั้น เห็นว่าหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือเตือนตาม

มาตรา 57 วรรคหนึ่ง  อันเป็นขั้นตอนการปฎิบัติของเจ้าหน้าที่ก่อนใช้มาตรการบังคับทาง

ปกครองเท่านั้น จึงไม่เป็นคำสั่งทางปกครอง และการที่ศาลยุติธรรมยกฟ้องเพราะเหตุขาด

อายุความนั้น ไม่มีผลทำให้ไม่สามารถใช้มาตรการทางปกครองได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติ

ในกฎหมายใดห้ามมิให้ใช้มาตรการทางปกครองในกรณีหากมีการฟ้องคคีต่อศาลยุติธรรม


........................

บทสรุป 

               เมื่อมีคำสั่งทางปกครองแล้ว  เจ้าหน้าที่มีอำนาจที่จะพิจารณาใช้มาตรการทาง

ปกครองเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งได้ เว้นแต่จะมีการสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ก่อน โดยเจ้าหน้าที่

ผู้ทำคำสั่งนั้นเอง หรือผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ หรือผู้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยความถูก

ต้องของคำสั่ง ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง  การฟ้องคดีต่อศาล หามีผลทำให้เจ้าหน้าที่  ไม่

สามารถใช้มาตรการทางปกครองได้